วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"บริหารค่าจ้าง" (Compensation Management)


แนวคิดในการบริหารค่าจ้าง ก็มาจากแนวคิดที่ว่า เมื่อมีจะการดำเนินกิจการใดๆ ก็ตามที่แสวงหาผลกำไร จำเป็นต้องมีการลงทุน และผลสำเร็จของการลงทุนคือการ "บริหารทุนอย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิด ประสิทธิผลสูงสุด" นั่นคือการบริหารเครื่องจักร บริหารที่ดิน บริหารเงิน และบริหารคนให้ "คุ้มค่าที่สุด"(มีประสิทธิภาพ)สำหรับการบริหาร "ทุน" ที่เป็นคนเราเรียกให้ไพเราะว่า การบริหารงานบุคคลบ้าง การบริหารทรัพยากรบุคคลบ้าง หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์บ้าง ถ้าเราจะพูดกันตรงๆ ตามแก่นเนื้อหาก็คือ "การบริหารค่าจ้าง" หมายความว่า การที่เราจ่ายเงินลงทุนในรูปของเงินเดือน-ค่าจ้างเพื่อซื้อ "ผลงาน" จากงานแต่ละตำแหน่ง และการจ่ายเงินซื้อผลงานจากงานแต่ละตำแหน่งนี้จะมากน้อยต่างกัน กล่าวคือเงินเดือน-ค่าจ้างของพนักงานไม่ไม่เท่ากัน ถ้าจ่ายน้อยราคาผลงานก็น้อย ถ้าจ่ายมากแสดงว่าราคาผลงานก้มาก เช่น ผู้จัดการฝ่ายผลิตเงินเดือน ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมรถประจำตำแหน่ง ๑ คัน ซึ่งต่างจากพนักงานธรรมดาระดับ ๑ (Unskill)ค่าจ้างแค่วัน ๒๐๐ บาทเป็นต้น

เงินเดือนค่าจ้างก็คือ "ราคาผลงาน" ซึ่งจะมากน้อยต่างกันตามความสำคัญของงานที่มีต่อบริษัท(ผลประโยขน์ที่บริษัทจะได้รับจากผลงานนั้นๆ)ที่เราเรียกตามภาษาวิชาการบริหารงานบุคคลว่า "ค่างาน" หรือ(Job Value)ดังนั้นวิธีการบริหารทุนที่เป็นค่าจ้าง-เงินเดือนให้คุ้มค่าสูงสุดเขาเรียกว่า "การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือการบริหารงานบุคคล หรือชื่ออื่นๆ " กลไกต่างๆ ของการบริหารทุนที่เป็น "คน" ได้แก่การสรรหา-คัดเลือก,การว่าจ้าง,การพัฒนา,การแรงงานสัมพันธ์ เพียงแต่การบริหารทุนชนิดนี้มีความเป็นพิเศษกว่าทุนอื่นๆ ตรงที่ เป็นทุนที่สำคัญมากที่สุด เพราะ "เป็นทุนชนิดเดียวกับเจ้าของทุน" และเป็นทุนที่มีชีวิตจิตใจ มีความต้องการในปัจจัยสี่ มีกิเลสในโลกธรรมแปด มีกิเลสที่เป็นรัก-ชอบชัง-ขยัน-ขี้เกียจ-เลว-ดี ดังนั้นการบริหารทุนชนิดนี้จึงยากที่สุด (และเจ้านายเห็นผลงานยากที่สุดด้วย)ผู้มีอาชีพโดยตรงในการบริหารทุนชนิดนี้ จึงต้องมีคุณสมบัติพิเศษโดยใช้ธรรมนำหน้าโดยเฉพาะ ขันติ โสรัจจะ พรหมวิหารสี่ สังคหวัตถุสี่ อิทธิบาทสี่ อริยสัจสี่ และบารมี ๑๐ และสิ่งที่จะต้องมีให้ได้เป้นปกติคือ "ยิ้มได้ทุกสถานการณ์ หรือยิ้มได้เมื่อภัยมา" จะสังเกตุเห็นว่า เวลากรรมการบริหารเรียกบรรดาผู้จัดการไปเฉ่งรายหัว เวลาเดินออกจากห้องประชุมหน้าแต่ละคนเหมือนคนอดนอนมาเป็นอาทิตย์ แต่ผู้จัดการบุคคล(มืออาชีพ)จะยิ้มและเข้มแข็งเป็นหลัก ให้บรรดาผู้จัดการเหล่านั้นมาระบายทุกข์ในห้องได้ ทั้งๆ ตนเองก็แทบจะกระอักเลือดตายอยู่แล้ว ถ้าทำไม่ได้อย่างนี้เปลี่ยนอาชีพดีกว่าครับ เพราะไปไม่รอดแน่ๆ

สรุปก็คือ การที่เราจะบริหารทุนที่เป็นคนได้อย่างคุ้มค่าหรือมีประสิทธิภาพนั้น นายจ้างผู้จ่ายเงินรู้สึกคุ้มค่า และลูกจ้างผู้รับเงินก็รู้สึกคุ้มค่าเหนื่อย ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะทุ่มทำงานให้บริทอย่างเต็มความสมารถ การที่จะมีผลเป็นอย่างนี้ได้
- หน่วยงานเหมาะสม : บริษัทจะต้องมี จำนวนหน่วยงาน (แผนก ฝ่าย)เหมาะสมเท่าที่จำเป็น คือไม่มากไปจนงานสบสนมั่วไปหมด และไม่น้อยไปจนทำงานไม่ได้-ไม่ทัน นอกจากนี้ ชื่อ ขนาด และสายงาน ของหน่วยต่างๆ ก็ต้องเหมาะสมเช่นกัน และแต่ละหน่วยงานต้องมีภารกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเชื่อมโยงกับบริษัทในนโยบาย เป้าหมาย และแผนธุรกิจ
- จำนวนตำแหน่ง และคนในตำแหน่งเหมาะสม : เมื่อเราออกแบบหน่วยงานได้เหมาะสม โดยหน่วยงานมีหน้าที่และเป้าหมายชัดเจนแล้ว เนื่องหน่วยมันทำงานเองอย่างอัตโนมัติให้บรรลุเป้าหมายไม่ได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดหรือออกแบบ ตำแหน่งที่เป็นมาตรฐาน (Jobs Bench Mark)ว่าควรมีกี่ตำแหน่ง และแต่ละตำแหน่งควรมีพนักงานกี่คน
- ระดับงาน โครงสร้างองค์กร โครงสร้างเงินเดือน : ที่จะรองรับหน่วยงาน ชื่อตำแหน่ง ก็ต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมโดยมืออาชีพ
- กลไกบริหารทุนคนให้ได้ผลงานอกมาอย่างมีประสิทธิภาพ : คือระบบบริหารงานบุคคล เช่น สรรหา-คัดเลือก,การว่าจ้าง, การพัฒนา,ระบบการประเมินผลงาน,การแรงานสัมพันธ์
การที่เราจะมีระบบตามข้างต้นได้ จำเป็นต้องมีโครงการบริหารค่าจ้างเป็นระยะๆ และเวลาปกติ หน่วยงานบริหารบุคคล ก็จะต้องทำหน้าที่ บริหารค่าจ้าง โดยใช้ระบบหรือกลไกของงานบุคคลในรูปของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น