วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หากหวังความก้าวหน้าต้องกล้าพูดต่อหน้ากลุ่มคน ตอน ๓

ประสบการณ์วิธีการแก้อาการประหม่าตื่นเทวี (ทั้งนอกตำราและในตำรา)

ผมจพขอนำเสนอเฉพาะที่ผมเจอะเองคือ อาการประหม่าแบบสยองขัวญ ชนิดรุนแรงสุดขีดสุดชีวิตสุดเดช ไม่น่าเชื่อนะครับคนอย่างผมจะก้าวพ้นจุดนี้มาได้ ตำแหน่งผู้อำนวยการสายงานบริหาร ที่มีหน่วยงานขึ้นสังกัดกับผมคือ ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม ผู้จัดการฝ่ายบริหาร ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่งสองแห่ง (สำนักงานกทม. และโรงงานอุตสาหกรรม) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายธุการ และผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ โดยเฉพาะหน่วยงานฝึกอบรมมีวิทยาการที่ผมสร้างขึ้นมาทั่วประเทศเกือบร้อยคน อันนี้ไม่ได้อวดนะครับ แต่ต้องการให้ท่านทราบว่าเป็นตำแหน่งที่จะต้องพูดกับคนมากๆ และต้องการเป็นหลักฐานให้ท่านที่มีปัญหาในการพูดต่อที่ชุมชนมั่นใจว่าท่านทำได้ดีกว่าผมแน่ เพราะผมนอกจากจะมีคุณสมบัติพิเศษคือพูดไม่ชัดลิ้นรัวพันกัน ติดอ่างในบ้างครั้ง เสียงอยู่ในลำคอ ขี้อายมากแล้ว และที่สำคัญที่สุดคืออาการประหม่าของผมคือ ที่สุดของความประหม่า หมายความว่าเขาประหม่ารุนแรงที่สุด แต่ผมที่สุดของที่สุด ถ้าเปรียบเทียบความขี้เหร่ผมก็ขี้เหร่กว่าคนที่ขี้เหร่ที่สุดในโลกหลายเท่า แต่ผมก็พยายามสู้จนเอาชนะมันได้ระดับหนึ่งเท่านั้นเอง แต่คนอื่นเขามองว่าผมคือ มืออาชีพ ผมก็งงนะเนี่ย

ผมจะขอสรุปเรื่องประสบการณ์การพูดที่เคยพูด และวิธีแก้อาการประหม่าที่ทั้งในและนอกตำราอันไหนมันใช้ได้ผลดีกว่ากัน ขอย้ำว่า เป็นประสบการณ์ของผม และก็เคยเอาประสบการณ์ไปสอนวิทยากรฝึกหัดได้ผลดีมาแล้ว แต่ท่านอื่นนอกนี้จะเหมือนผมหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่เคยเห็นใครเล่าให้ฟัง เป็นเอาว่าพูดประสบการณ์ส่วนตัวให้ท่านฟังก็แล้วกันครับ

๑. ยืนยันวิธีในตามตำราที่ใช้ได้ผล คือ

- สูดลมแรงๆ ลึกๆ หลายๆ ครั้ง (แต่อย่าให้เสียงดังจนน่าเกลียด) อันนี้ช่วยได้กรณีที่มีอาการสั่นมากๆ มือเย็น หัวใจเต้นแรงถี่ๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เพราะอาการเช่นเกิดจากร่างกายขาดออกซิเจน ในเมื่อเราควบคุมอะไรไม่ได้แต่เราสามารถควบคุมลมหายใจได้ เมื่อเราสูดลมเข้าไปร่างกายจะร้อนขึ้น อาการมือสั่น ตัวสั่น ตัวเย็น คอแห้ง จะลดลงทันทีเพราะมันเป้นอาการทางกาย เมื่อเราควบคุมทางกายได้ก็ค่อยๆ ควบคุมทางใจซึ่งจะกล่าวต่อไป

- แอบสร้างความเจ็บปวดให้ตนเอง ท่านอาจตกใจคิดว่าซาดิส ที่จริงไม่ใช่ เวลาที่เราตื่นเต้นมากๆ อาการปั่นป่วนทางกายมันควบคุมไม่ค่อยได้ เช่น ปวดท้อง จะอาเจียน หน้าอมทุกข์ ที่สำคัญคือ มือสั่น ขาสั่น ปากสั่น เสียงสั่น ก่อนขึ้นเวทีหยิกเล็บตัวเองแรงๆ เอาถึงขั้นร้องจ๊ากได้ยิ่งดี (แต่อย่าร้องนาเดี๋ยวเป็นเรื่อง) อันนี้ช่วยได้จริงๆ ครับ แต่เป็นช่วยแค่ผ่อนหนักเป็นเบา ไม่ใช่ผ่อนจากอุจจาระเป็นปัสสาวะนะครับ

- ปรับจิตใจ คิดปลุกใจแบบนักยกน้ำหนักครับ "สู้โว๊ย!" หรือแบบทหาร "ตายเป็นตาย" หรือ "สู้ตาย" หรือคิดในแง่ดีว่า "หลังการพูดฉันมีชีวิตอยู่ต่อแน่นอนโว๊ย" หรือ นึกถึงสิ่งที่เคนพูดที่สำเร็จ

- ไปทำความคุ้นเคยกับสถานที่จริง อันนี้สำคัญมาก ความคุ้นเคยจะช่วยให้จิตใจเรามีอัตโนมัติว่า "ของเรา เรารู้มากกว่า เราเก่ากว่า ถิ่นของเรา" อันนี้จะช่วยได้

- เตรียมการพูดให้พร้อม อันนี้พวกเราทราบดีไม่ต้องแน่นำ ทำให้เรามีจิตอันโนมัติว่า "อยากพูด" ยิ่งเราเตรียมมามาก มีข้อมูลดีๆ มีลูกเล่นดี จะทำให้เรามั่นใจอยากพูดมากขึ้น

๒. วิธีนอกตำราการพูด

อย่างผมเนี่ย ไอ้วิธีตามตำราที่กล่าวมามันเทียบช่วยอะไรไม่ได้เลยครับ แต่เมื่อมันหนีการพูดไม่ได้มันก้ต้องสู้เดหมือน "สุนัขจนตรอก" คิดดูก้แล้วกันครับ อาการสุนัขของผมมันเป็นอย่างไร กลัวสุดขีดแต่หนีไม่ได้ ไม่สู้ก็ตาย ถ้าสู้ก้ตายต้องตาย แต่มันก็มีโอกาสรอดมากกว่าไม่สู้ แต่ส่วนใหญ่รอด เพราะพลังความกลัวสุดขีดนี่มันมีมหาศาล ในเมื่อหนีไม่ได้ผมก้มีวิธีการของผมดังนี้ครับ (มีต่อ)


ศ.ธรรมทัสสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น