วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หวังความก้าวหน้าต้องกล้าพูดต่อหน้ากลุ่มคน ตอน ๒

การพูดต่อหน้ากลุ่มคนจำเป็นมากแค่ไหนที่จะต้องเกาะตำรา??

ทำอย่างไรจึงจะหายประหม่าเวที

ถามว่าการพูดจำเป็นต้องเกาะตำราไหม?? ก็ต้องตอบว่า ไม่จำเป็นต้องเกาะตำราเสมอไปหากมีมืออาชีพแนะนำแล้วเราจำได้ เนื่องจากตำราการพูดต่างๆ ถือเป็นการเรียนลัด โดยเราไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา เพราะตำราการพูดเขารวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายเอาไว้ให้เราศึกษา แต่โปรดจำไว้ว่าตำรามีการเปลี่ยนแปลงตามโลกที่หมุนไปอยู่เสมอ เมื่อยี่สิบปีที่แล้วกับปัจจุบันย่อมแตกต่างกันในรายละเอียด ส่วนหลักการพูดที่สำคัญๆ นั้นไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย ถ้าเราสังเกตุตำรากี่เล่มไม่ว่าจะเป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศ หรือเขียนโดยคนไทยก็ตามจะเห็นว่า มีหลักคล้ายๆ กันสรุปได้ไม่กี่บรรทัด ตั้งแต่การเตรียมการพูด หลักการพูด เนื้อหาการพูด วิธีเทคนิคการพูด แต่หนังสือที่เล่มหนาๆ ก็มาจากประสบการณ์เสยเป็นส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่าส่งที่กล่าวไม่น่ามีปัญหาสำหรับพวกเราเท่าไร แต่ที่มีปัญหาคือ

- ทำอย่างไรจึงจะหายประหม่าตื่นเวที
- ทำอย่างไรเมื่อหายตื่นเต้นแล้วจึงจะพูดได้ดี ประทับใจเป็นที่ยอมรับ
- ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จจากการพูด


ผมขอเจาะจงเฉพาะ ๓ ข้อนี้ เพราะเนื้อหานอกนั้นเราสามารถหาซื้อหนังสืออ่านเองได้มีวางขายตามท้องตลาดเต็มไปหมด หรือแม้แต่ในเว็บไซด์ก็มามากมายจนตาลาย ผมขอเริ่มถ่ายทอดประการณ์ตรงๆ เลยนะครับ

๑. ทำอย่างไรจึงจะหายอาการประหม่าตื่นเวที : ไม่ต้องเดาให้เสียเวลาครับว่า มีใครไม่ประหม่าตื่นเต้นบ้างเวลาขึ้นเวที หรือพูดต่อหน้ากลุ่มคนเยอะๆ คนที่ไม่มีอาการเหล่านี้เลยแทบหาไม่ได้เลย ปกติอาการประหม่าจะค่อยๆ หายไปหากเราเวลาขึ้นเวทีทำใจให้คิดว่าฉัน กล้าชนแหลก ตายเป็นเป็นตาย มันจะตายบนเวทีก็เชิญ รับรองฉัน (กู) รอดกลับมาแน่ สู้โว้ย สู้ตาย ฯลฯ แต่สำหรับบางคนมันไม่หายจากอาการประหม่านะซิครับ จะขึ้นเวทีกี่ครั้งทั้งก่อนขึ้นหลังขึ้นแทบจะหามลงเปลกันเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่เตรียมพูดมาเป็นเดือน ถึงขนาดลงทุนซื้อไมค์ที่มีนำหนักเท่ากับที่เวทีจริงจะได้ชิน แถมลงทุนแอบไปฝึกที่เวทีจริงจนหลับเห็นภาพเวทีชัดแจ๋วตลอดเวลา และหนังสือตำราการพูด (โดยเฉพาะแก้อาการประหม่า) กองเป็นตั้งๆ จำเนื้อหาได้เกือบทั้งเล่มทุกเล่ม แต่พอขึ้นเวทีกลับไปยืนขาสั่นพับๆๆ คอแห้ง ใจหวิวๆ ปากสั่นเสียงสั่น เนื้อหาที่เตรียมมาอย่างช่ำชองสมอง (เสือก) นึกอะไรไม่ออกเอาดื้อๆ แทบอยากจะวิ่งจากเวทีหนีไปให้ไกลๆ ผู้คน หรือลาอออกจากงานให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย ไอ้ที่ฝึกที่เตรียมมามันช่วยอะไรไม่ได้เลยจริงๆ อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นอาการประหม่าตื่นเต้นชนิดร้ายแรงสยองขัวญ บางคนถึงลับหน้ามืดบนเวที หรือฉี่ราดกางเกงไปเลย และนี่คือตัวผมเองครับ

ความจริงอาการประหม่าเวที มันมีอยู่ ๓ อาการ คือ

- อาการประหม่าแบบปกติ : อาการแบบนี้พอขึ้นเวที ๔-๕ ครั้งก็หาย และพัฒนาเป็นมืออาชีพภายในไม่เกิน ๑ ปี (หากตั้งใจจริง) อาการประหม่าพอทราบว่าจะให้มีการพูด ก่อนถึงวันพูดจะมีความอาการตื่นเต้น เครียด ในสมองมีแต่ความกังวลกลัวสารพัดอย่าง เวลาเตรียมการพูดหน้าจอคอมก็หายใจแรงๆ อยู่คนเดียวดังฟืดฟาดๆ หรือถอนหายใจลึกๆ แรงเป็นพักๆ เวลาไปเที่ยวที่ไหนกับครอบครัวกับเพื่อนก็ไม่คอยสนุกนัก ไม่คอยอยากพูดกับใคร หัวใจเต้นแรงบ่อย ขี้หงุดหงิด อาการประหม่าชนิดนี้หากฝึกดีเตรียมข้อมูลดีๆ เชื่อฟังคำแนะนำจากตำรา หรือมืออาชีพจะมั่นใจมากขึ้น เวลาก่อนขึ้นเวทีหัวใจเต้นแรงมือเย็น อยากหนี แต่ควบคุมอาการได้ดีแต่หากเราจะสังเกตุจะเห็นอาการ หลังจากขึ้นเวทีแล้วหลัง ๓ นาทีไปแล้วทุกอย่างจะปกติ แต่เวลาพูดไปสักพักอาจรู้สึกงงๆ ตัวเองว่า เอ๊ะเรามาทำอะไรบนเวทีเนี่ย อาจลืมเนื้อหาบ้างในบางครั้งแต่หากทำตามแนะนำมืออาชีพแล้วจะดีขึ้น ครั้งต่อๆ ไปจะดีขึ้นเรื่อยๆ และจะตื่นเต้นเล็กน้อยเวลาขึ้นเวที แต่จะมีผลดีต่อความมีชีวิตชีวาในการพูด

- อาการประหม่าแบบรุนแรงกว่าปกติ : อาการแบบนี้ถือว่าเป็นอุปสรรคในการพูด เวลาก่อนถึงวันพูดอาจลาป่วย หรือรถเสียกลางทางเอาง่ายๆ อาจมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถมาพูดได้ อาการประหม่าแบบนี้ ถ้าเรามีลูกน้องที่มีตำแหน่งระดับหัวหน้า ผู้บริหาร ที่มีความจำเป็นจะต้องพูด หรือคนที่เราต้องการผลักดันให้เจริญก้าวหน้า วิธีการที่ผมคนใช้กับลูกน้อง และหัวหน้าเคยใช้กับผมได้ผลชงัดคือ การบังคับ ยื่นคำขาด หรือสั่งการด้วยเหตุผลที่จำเป็น หากหลีกเลี่ยงไม่พูดจะมีผลร้ายแรงอย่าง หากพูดแล้วจะดีขึ้นอย่างไร ต้องบอกว่าคุณมีแววผมมองเห็นผมเคยเป็นอย่างนี้มาก่อน ไม่ต้องกลัวผมจะคอยช่วยไม่ให้เสียหน้า และเราไม่ต้องฟังคำแก้ตัวที่การันตีได้เลยว่ามีข้ออ้างสุดวิสัยสารพัด รับรองครับเขากลัวเราพอๆ กับอาการประหม่า แต่อย่าลืมนะครับจะมีพวกแกล้งอมภูมิว่าตัวเองเก่งแต่เราถ้าเคยพูดมานานจะดูออกง่ายๆ

อาการประหม่าแบบนี้ จะมีอาการก่อนถึงวันพูด จะซึมหน้าคล้ำ เครียด ไม่ค่อยพูดกับใครชอบปลีกตัว การพูดจากับพวกพ้องไม่ค่อยมีชีวิตเหมือนเดิม ทานข้าวไม่ค่อยลง โลกนี้ไม่ค่อยสดใสเหมือนเดิม วิตกกังวลมาก คิดหาทางหลีกเลี่ยง และอาการนขึ้นเวทีจะรุนแรงมากอย่างน่าสยอง คือมือเย็นเฉี๊ยบ เหงื่อแตก พูดตะกุ๊กตะกัก มือสั่น ขาสั่น คอแห้ง หายใจไม่ออกหายใจแรงปวดปัสสาวะ ใจหวิวๆ คล้ายจะเป็นลม หงาวบ่อยๆ เวลาจับแก้วน้ำมือจะสั่น ในตัวร้อนแต่นอกตัวเย็นเฉียบ และเวลาขึ้นเวทีขาจะสั่น มือสั่น เสียงสั่น สมองไม่ทำงาน หัวใจเต้นแรงตูมๆ จิตใจจะหนีลงเวทีท่าเดียว ระวังจะลงจริงๆ หัวหน้าต้องคอยประกบส่งยิ้มส่งใจให้ตลอด อาการแบบนี้แม้เวลาผ่านไปหลายนาที หรือการพูดจวนจบอยู่แล้วก็ยังประหม่าอยู่ แบบนี้ต้องฝึกบ่อยๆ มากกว่าแบบปกติหลายเท่าจึงจะปกติ ข้อควรระวังอาการประหม่าที่เกิดขึ้นจะฝังใจทำให้กลัวเวทีมากขึ้น แบบนี้หัวหน้าต้องคอยระวังประคับประคอง

- อาการประหม่าแบบรุนแรงที่สุด แบบสุดขีด : อาจถึงขึ้นช๊อคเป็นลมได้ แบบนี้ฝึกอย่างไรก้คงไม่ได้ แต่นี่มันคือผมเองครับ ผมเป็นมากกว่าหลายเท่าที่ว่ารุนแรงที่สุด มีคนกล่าวว่าผมปรารถนาจะช่วยคนจำเป้นต้องเก็บรายละเอียดทุกเม็ด (มีต่อ)

ศ.ธรรมทัสสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น